โรคกระเพาะ... เพราะอะไร? (BE Magazine)
เรื่อง : ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ
เวลาพักกลางวันมาถึงแล้ว ครั้นจะชวนเพื่อน ๆ ร่วมงานไปกินข้าว ก็เหมือนกับไม่มีใครอยากลุก หันไปทางซ้าย หัวหน้าก็ขะมักเขม้นกับงานตรงหน้า ไม่กล้าเรียก หันทางขวาเพื่อนร่วมงานก็กำลังเครียดกับเอกสารสารพันบนโต๊ะ สรุปว่าไม่มีใครไปกินข้าวเลยหรอ? นี่หรือเปล่าที่ทำให้คนทั้ง 2 บ่นปวดท้อง ไม่ว่าจะก่อนกิน หรือหลังกิน

ผู้ร้ายตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะคือ "เชื้อโรค" ที่ชื่อว่า เอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori)* ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร มันจะอยู่ภายในกระเพาะอาหารของผู้ติดเชื้อไปตลอดชีวิต โดยจะอยู่บริเวณด้านล่างของกระเพาะอาหาร เชื้อนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในกระเพาะอาหาร ทำให้กรดถูกขับออกมามากขึ้น จนเกิดการอักเสบที่เยื่อบุกระเพาะ นำไปสู่การเกิดแผลเลือดออกในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนบนนั่นเอง
หมายเหตุ : *แบร์รี เจ มาร์แชลล์ แพทย์ด้านทางเดินอาหาร และเจ โรบิน วาร์เรน แพทย์ด้านพยาธิวิทยา ได้ค้นพบเชื้อแบคทีเรีย "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร" (Helicobacter pylori) และได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์







ใคร ๆ ก็คงไม่อยากไปหาหมอ หรือกินยาเป็นกำ การรักษาโรคกระเพาะก็ต้องเริ่มจากการกิน คือ ให้กินกล้วยแบบสุกแข็ง เช่น กล้วยหักมุก หรือกินกะหล่ำปลีปรุงสุกบ่อย ๆ เพราะกะหล่ำปลีมีสารที่ช่วยสมานแผลในกระเพาะ (ผลจากงานวิจัย Thaly H. A new therapy of peptic ulcer: The anti-ulcer factor of cabbage. Gaz Med Fr 1965; 72:1992-3) อย่ากินวิตามินที่เป็นกรดมากเกินไป อย่าง "วิตามินซี" เพราะอาจไประคายเยื่อกระเพาะอ่อน ๆ ได้ โดยเฉพาะเมื่อกินตอนก่อนนอน

ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปที่จุดบริเวณใต้ขอบล่างของสะบ้าลงมา 4 นิ้วมือ และห่างจากสันหน้าแข้งมาทางด้านนอก 1 นิ้วมือ กดนวดจุดหนัก ๆ ด้วยหัวแม่มือ นาน 2 นาที นวดทั้ง 2 ขา ว่ากันว่า จุดนี้จะปรับการทำงานของกระเพาะอาหารและม้ามได้
ใช่ว่าคนที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารจะติดเชื้อ H.pylori กันทุกคน แต่จากสถิติผู้ติดเชื้อ 60-70% ของประชากรทั้งประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อนี้ประมาณ 80-90% และกว่า 90% สามารถหายจากโรคนี้ได้อย่างถาวร แต่ถ้าแผลดังกล่าวไม่หาย และเชื้อนี้ยังไม่หายไป ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น