โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นเพราะมีการเสียสมดุลของการใช้น้ำตาลในเลือด กระเพาะอาหารและสำไส้จะย่อยอาหาร ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆที่เล็กลง หนึ่งในนั้นคือ น้ำตาลกลูโคส ที่เข้าสู่กระแสเลือดและไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย ฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นที่ตับอ่อน มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้ป็นพลังงาน เมื่อร่างกายสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยหรือไม่สร้างเลยจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น
ชนิดของโรคเบาหวาน ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดได้อย่างชัดเจน
1. เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอ เนื่องจากเบตาเซลล์(beta cells) ของตับอ่อนถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องได้รับอินซูลินด้วยการฉีดหรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลิน
2.เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) เป็นเบาหวานที่พบเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ตับอ่อนยังสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ผู้ป่วยต้องมีการควบคุมอาหาร การใช้ยาชนิดกินหรือใช้อินซูลินชนิดฉีด
ลักษณะของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2
ชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes)
| ชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) |
พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วย
|
พบได้ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วย
|
พบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี
|
พบได้ทุกวัย
|
รูปร่างผอม
|
รูปร่างอ้วน
|
เกิดโรคแบบเฉียบพลัน
|
ตาพร่ามัว
|
ปัสสาวะบ่อย
|
เป็นแผลหายช้า
|
กระหายน้ำบ่อย
| พบอาการชาบริเวณมือและเท้า |
อยากอาหารบ่อย
|
ติดเชื้อตามผิวหนัง ปากหรือกระเพาะปัสสาวะ
|
น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
| |
มีอาการเหนื่อยหรือเพลียอ่อนแรง
| |
เกิดภาวะคั่งสารคีโตน
|

ความชุกของโรคเบาหวาน(ร้อยละ)ในช่วงอายุ 20-79 ปี แบ่งตามภูมิภาค
การวินิจฉัย (Diagnosis)
![]() |
ปัจจุบัน มีเพียงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จะแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจนซึ่งจะนำไปสู่การพบแพทย์ แต่ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาการของโรคจะค่อยๆดำเนินไปไม่แสดงอาการชัดเจน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หลายประการได้แก่
-ประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน/อ้วน
-เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
-ประวัติการเป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์
-ความดันโลหิตสูง
-ไขมันเอชดีแอล(HDL) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 35 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) มากกว่าหรือเท่ากับ 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
-ออกกำลังกายน้อย
-เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
-ประวัติการเป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์
-ความดันโลหิตสูง
-ไขมันเอชดีแอล(HDL) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 35 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) มากกว่าหรือเท่ากับ 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
-ออกกำลังกายน้อย
หากมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะถ้าหากเกิดอาการดังนี้
-กระหายน้ำบ่อย
-ปวดปัสสาวะบ่อย
-น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
-รู้สึกเหนื่อยล้า
-เกิดการติดเชื้อ
-ตาพร่ามัว
-มีอาการครึงหลับครึ่งตื่น
-คลื่นไส้
-ความอดทนในการออกกำลังกายลดลง
-ปวดปัสสาวะบ่อย
-น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
-รู้สึกเหนื่อยล้า
-เกิดการติดเชื้อ
-ตาพร่ามัว
-มีอาการครึงหลับครึ่งตื่น
-คลื่นไส้
-ความอดทนในการออกกำลังกายลดลง
การตรวจเบาหวานที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายได้แก่ การวัดความสามารถของร่างกายในการดูดซึมน้ำตาลกลูโคส [oral glucose tolerance test: OGTT] โดยการวัดระดับน้ำตาลกลูโคส 2 ชั่วโมงหลังรับประทานน้ำตาล 75 กรัมจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลสูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร [11.1 มิลลิโมล/ลิตร] อย่างไรก็ตาม การวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง [fasting plasma glucose: FPG] เป็นวิธีที่แนะนำให้ใช้ ซึ่งสะดวกและแม่นยำ ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือด[FPG] สูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร [7.0 มิลลิโมล/ลิตร] ถึงแม้ว่า FPG ไม่ได้รับการแนะนำใช้ในยุโรปแต่องค์การอนามัยโลกก็แนะนำให้ใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกันในการตรวจเบาหวาน
การตรวจระดับน้ำตาลเป็นการหาปริมาณของน้ำตาลที่อยู่ในเลือด ณ ขณะนั้น ในคนปกติระดับของน้ำตาลจะอยู่ระหว่าง 65-69 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (3.5-5.3 มิลลิโมล/ลิตร) จากเลือด และ 74-106 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (4.1-5.9 มิลลิโมล/ลิตร) ในพลาสมา หากวัดหลังรับประทานอาหารระดับของน้ำตาลจะขึ้นไปเป็น 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (7.8 มิลลิโมล/ลิตร)
การติดตามและการรักษา
![]() |
เป้าหมายหลักในการรักษาเบาหวานเพื่อลดระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุด ด้วยการใช้ยากินและการฉีดอินซูลินควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย โดยจะช่วยป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้
by : roche.co.th
by : roche.co.th
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น