โรคตาแดง (Conjunctivitis)
เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อที่ชื่อว่า อะดิโนไวรัส (Adenovirus)
เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อที่ชื่อว่า อะดิโนไวรัส (Adenovirus)
การติดต่อของโรค สามารถติดต่อได้ง่ายๆ โดย การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดงสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการติดต่อโรคตาแดง มาจากการสัมผัสน้ำตา ขี้ตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง
- ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
- ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา
- แมลงหวี่หรือแมลงวันตอมตา
- ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า
โรคตาแดง ไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศหรือการรับประทานอาหารร่วมกัน อาการต่างๆ จะเกิดได้ภายใน 1-2 วัน
- ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
- ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา
- แมลงหวี่หรือแมลงวันตอมตา
- ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า
โรคตาแดง ไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศหรือการรับประทานอาหารร่วมกัน อาการต่างๆ จะเกิดได้ภายใน 1-2 วัน
อาการและอาการแสดง
ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้ จะมีอาการตาแดงอย่างรวดเร็ว เคืองตา เจ็บตา น้ำตาไหล ไม่มีขี้ตา นอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา จึงจะมีขี้ตา บางรายมีต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตและเจ็บ ผู้ที่เป็นมักจะเริ่มเป็นที่ตาข้างหนึ่งก่อน ต่อมาอีก 2-3 วัน ก็จะลุกลามไปยังตาอีกข้างหนึ่ง ระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นนานประมาณ 10-14 วัน
ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้ จะมีอาการตาแดงอย่างรวดเร็ว เคืองตา เจ็บตา น้ำตาไหล ไม่มีขี้ตา นอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา จึงจะมีขี้ตา บางรายมีต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตและเจ็บ ผู้ที่เป็นมักจะเริ่มเป็นที่ตาข้างหนึ่งก่อน ต่อมาอีก 2-3 วัน ก็จะลุกลามไปยังตาอีกข้างหนึ่ง ระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นนานประมาณ 10-14 วัน
อาการแทรกซ้อน
ในบางรายเมื่อตาแดงดีขึ้น อาจเกิดโรคแทรกซ้อน คือ ตาดำอักเสบ โดยผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการตามัวลง ทั้งๆ ที่อาการตาแดงดีขึ้นมากแล้ว มักเกิดขึ้น ในวันที่ 7-10 หลังเริ่มเป็นตาแดง ตาดำอักเสบนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเป็นอยู่นานหลายๆ เดือนกว่าจะหาย
ในบางรายเมื่อตาแดงดีขึ้น อาจเกิดโรคแทรกซ้อน คือ ตาดำอักเสบ โดยผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการตามัวลง ทั้งๆ ที่อาการตาแดงดีขึ้นมากแล้ว มักเกิดขึ้น ในวันที่ 7-10 หลังเริ่มเป็นตาแดง ตาดำอักเสบนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเป็นอยู่นานหลายๆ เดือนกว่าจะหาย
การดูแลรักษา
เนื่องจาก โรคตาแดงเกิดจากเชื้อไวรัส จึงยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ ยาต้านเชื้อไวรัสต่างๆ ที่มีขณะนี้ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้ ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาโดย
- การใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา และป้ายตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดตามมา
- ถ้ามีอาการเจ็บตา ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล
เนื่องจาก โรคตาแดงเกิดจากเชื้อไวรัส จึงยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ ยาต้านเชื้อไวรัสต่างๆ ที่มีขณะนี้ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้ ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาโดย
- การใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา และป้ายตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดตามมา
- ถ้ามีอาการเจ็บตา ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล
- ถ้ามีอาการเคืองตา แพทย์จะแนะนำให้ใส่แว่นกันแดด
- ไม่ควรปิดตา และไม่จำเป็นต้องล้างตา
นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และพักการใช้สายตา ระยะเวลาการรักษานานประมาณ 2 สัปดาห์
- ไม่ควรปิดตา และไม่จำเป็นต้องล้างตา
นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และพักการใช้สายตา ระยะเวลาการรักษานานประมาณ 2 สัปดาห์
การหยอดยาหยอดตา
1. ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง
2. ดึงหนังตาล่างลง
3. ตาเหลือกมองเพดาน
4. หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง
5. ปิดตาและกรอกตาไปมา เพื่อให้ยากระจาย การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา
6. เช็ดยาที่ล้นออกมา
7. ล้างมือหลังหยอดยาเสร็จ
1. ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง
2. ดึงหนังตาล่างลง
3. ตาเหลือกมองเพดาน
4. หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง
5. ปิดตาและกรอกตาไปมา เพื่อให้ยากระจาย การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา
6. เช็ดยาที่ล้นออกมา
7. ล้างมือหลังหยอดยาเสร็จ
การป้องกันโรค
โรคตาแดงเป็นโรคที่ไม่มีการรักษาโดยตรง มีการระบาดอย่างรวดเร็ว และติอต่อกันง่ายมาก การป้องกันระมัดระวังไม่ให้ติดโรคนี้ ทำได้โดย
- การแยกผู้ป่วย เช่น หยุดงาน หยุดเรียน
- ไม่ใช้สิ่งของปะปนกับผู้อื่น
- ไม่ใช้มือป้ายตาและขยี้ตา เพราะเชื้อโรคจะติดไปยังสิ่งของที่ผู้ป่วยหยิบจับ
- ล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาด
- ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกัน ในผู้ที่เป็นตาแดงในตาข้างหนึ่ง ส่วนตา อีกข้างหนึ่งไม่มีอาการ ให้หยอดตาเฉพาะข้างที่เป็นตาแดงเท่านั้น ไม่จำเป็น ต้องหยอดตาข้างปกติด้วย เพราะจะเป็นการนำเชื้อจากตาข้างที่เป็น ไปยัง ตาข้างปกติ
โรคตาแดงเป็นโรคที่ไม่มีการรักษาโดยตรง มีการระบาดอย่างรวดเร็ว และติอต่อกันง่ายมาก การป้องกันระมัดระวังไม่ให้ติดโรคนี้ ทำได้โดย
- การแยกผู้ป่วย เช่น หยุดงาน หยุดเรียน
- ไม่ใช้สิ่งของปะปนกับผู้อื่น
- ไม่ใช้มือป้ายตาและขยี้ตา เพราะเชื้อโรคจะติดไปยังสิ่งของที่ผู้ป่วยหยิบจับ
- ล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาด
- ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกัน ในผู้ที่เป็นตาแดงในตาข้างหนึ่ง ส่วนตา อีกข้างหนึ่งไม่มีอาการ ให้หยอดตาเฉพาะข้างที่เป็นตาแดงเท่านั้น ไม่จำเป็น ต้องหยอดตาข้างปกติด้วย เพราะจะเป็นการนำเชื้อจากตาข้างที่เป็น ไปยัง ตาข้างปกติ
อาการตาแดงนอกจากจะเกิดจากโรคตาแดง ซึ่งมีการระบาดกันอยู่บ่อยๆแล้วยังอาจพบได้ในโรคตาอื่นๆ อีกหลายโรค และบางโรคมีอันตรายร้ายแรง ทำให้สูญเสียสายตาได้ เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ตาดำอักเสบ ดังนั้นเมื่อเกิดอาการตาแดงขึ้น ควรได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
Reference : โรคตาแดง
• ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค กระทรวงสาธารณสุข
• ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค กระทรวงสาธารณสุข
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น